Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
สัปดาห์ที่ 7
บันทึกอนุทิน
วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี
23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
ครั้งที่
7 กลุ่มเรียน 104 วันจันทร์
เวลาเข้าเรียน
12.20 - 15.50 น. ห้อง 435 อาคาร 4
สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสอบกลางภาค
วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
สัปดาห์ที่ 6
บันทึกอนุทิน
วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
ครั้งที่
6
กลุ่มเรียน 104 วันจันทร์
เวลาเข้าเรียน
12.20 - 15.50 น. ห้อง 435 อาคาร 4
ภาพความประทับใจ
บรรยากาศแห่งความสุข ความอบอุ่น ..
# 160258 # 104
วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
สัปดาห์ที่ 5
บันทึกอนุทิน
วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
ครั้งที่
5
กลุ่มเรียน 104 วันจันทร์
เวลาเข้าเรียน
12.20 - 15.50 น. ห้อง 435 อาคาร 4
กิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน
:
อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม ดังนี้
อุปกรณ์
ภาพที่ 1
วิธีทำ
ใส่ถุงมือในข้างที่ตนเองไม่ถนัดทาบลงบนกระดาษแล้ววาดเส้นตามโครงถุงมือ จากนั้น ให้วาดรูปมือที่อยู่ในถุงมือ วาดส่วนต่างๆของมือ(หลังมือ) เช่น เล็บ ขนมือ เส้นต่างๆ เป็นต้น
ภาพที่ 2
วิธีทำ
ถอดถุงมือออกทาบมือลงบนกระดาษแล้ววาดรูป จากนั้น ให้วาดส่วนต่างๆของมือเหมือนรูปที่1 แต่ต่างกันตรงที่รูปที่2 ให้วาดรูปมือที่เห็นให้เหมือนจริงที่สุด
ความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรม
ให้เปรียบกับมือที่เราเห็นทุกวันเราจำรายละเอียดได้ครบหรือเปล่า เด็กก็เหมือนกัน อย่าชะล่าใจว่าเราเห็นเด็กทุกวัน ทุกเทอมแล้วจะจำได้ ครูจะมองภาพรวมทั้งเทอมมาบันทึกในครั้งเดียวไม่ได้ควรบันทึกพฤติกรรมพัฒนาการของเด็กเป็นช่วงๆ บันทึกสิ่งที่เด็กทำอย่างสม่ำเสมอทำให้เป็นระบบ
เปรียบเสมือนรูปมือภาพที่2 การที่บันทึกจากสิ่งที่เห็นจะใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่า การบันทึกที่ดีที่สุด คือ การบันทึกเป็นช่วงๆ สังเกตพฤติกรรมเด็กแล้วบันทึกตามในสิ่งที่เห็น เพราะอาจจะลืมแล้วทำให้เก็บรายละเอียดได้ไม่ครบถ้วน
การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกเพิ่มเติม
อบรมระยะสั้น , สัมมนา
สื่อต่าง ๆ
( หนังสือ , โทรทัศน์ครู , VDO , อินเทอร์เน็ต )
การเข้าใจภาวะปกติ
เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
ครูต้องเรียนรู้ , มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
รู้จักเด็กแต่ละคน
มองเด็กให้เป็น " เด็ก "
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
การพร้อมของเด็ก
วุฒิภาวะ
แรงจูงใจ
โอกาส
การสอนโดยบังเอิญ
ให้เด็กได้เป็นฝ่ายเริ่ม
เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
ครูต้องมีความสนใจเด็ก
ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
อุปกรณ์
มีลักษณะง่าย ๆ
ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ตารางประจำวัน
เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆ กับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยาการ
ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้
เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการให้แรงเสริม
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
ความสนใจของผู้เรียนที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
มีแนวโน้วจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
หากผู้ใหญ่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆ ก็จะลดลงและหายไป
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
ตอบสนองด้วยวาจา
การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
สัมผัสทางกาย
ให้ความร่วมมือ , ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท ( prompting )
ย่อยงาน
ลำดับความยากง่ายของงาน
การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละชั้น
สอนจากง่ายไปยาก
ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวำไปขั้นต่อไป
ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
ทีละขั้น ไม่เร่งรัด " ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น "
ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา
จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตปรำจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน
เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
สอนแบบก้าวไปข้างหน้าหรือย้อนมาจากข้างหลัง
เด็กตักซุป
การจับช้อน
การตัก
การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู่ปาก
การลดหรือหยุดแรงเสริม
ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกจากเด็ก
เอาเด็กออกจากการเล่น
ความคงเส้นคงวา
ต้นเทอมเป็นอย่างไรท้ายเทอมเป็นอย่างนั้น
ท้ายชั่วโมง อาจารย์ให้นักศึกร่วมกันตอบคำถาม มีหัวข้อดังนี้
การสอนโดยบังเอิญหมายความว่าอย่างไร
การสอนโดยบังเอิญครูต้องพึงปฏิบัติอย่างไร
ตารางประจำวันของเด็กควรเป็นอย่างไร
การให้แรงเสริมต่อเด็ก มีวิธีการอย่างไรบ้าง
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่เรียนในวันนี้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนได้ เริ่มจากการมองเด็กให้เป็นเด็กก่อนไม่มองว่าเด็กพิเศษแปลกแยกจากเพื่อนซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และมีการสังเกตการบันทึกพฤติกรรมของเด็กเป็นช่วงๆอย่างเป็นระบบ บันทึกตามความเป็นจริง ครูต้องมีปฏิสัมพันธ์ที่กับเด็กสร้างความไว้วางใจกับเด็กเพราะถ้าเด็กไว้วางใจเด็กก็จะมีความพร้อมที่จะเรียนรู้
การประเมินผล
ตนเอง
:
เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม ให้ความร่วมมือในการร้องเพลงและตอบคำถาม
เพื่อน
:
เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย เพื่อนๆ ทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมวาดรูปมือของตนเอง และให้ความร่วมมือในการร้องเพลงเป็นอย่างดีได้รับคำชมจากอาจารย์ว่าเป็นกลุ่มที่ร้องเพลงเพราะ
อาจารย์
:
เข้าสอนตรงต่อเวลา
แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีกิจกรรมให้นักศึกษาทำเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบกับเนื้อหาที่สอนทำให้เข้าใจมากขึ้น อาจารย์สอนเนื้อหาได้ชัดเจนและเพิ่มเติมในส่วนที่นอกเหนือจากเนื้อหา
วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
สัปดาห์ที่ 4
บันทึกอนุทิน
วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
ครั้งที่
4
กลุ่มเรียน 104 วันจันทร์
เวลาเข้าเรียน
12.20 - 15.50 น. ห้อง 435 อาคาร 4
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติด
สัมมนาทางวิชาการผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา
" วิกฤติหรือโอกาส... การศึกษาปฐมวัยไทยในเวทีอาเซียน "
บทความที่ใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)