วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 16
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 28 เมษายน พ.ศ.2558
ครั้งที่ 16 กลุ่มเรียน 104 วันจันทร์  
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.50 น. ห้อง 435 อาคาร 4


โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
( Individualized Education Program )

แผน IEP
  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอนและการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
  • เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่ามีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี /ระยะสั้้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอนและคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยถาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงาน พัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  • ตรวงสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1.การรวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์
  • รายงานการประเมินด้านต่างๆ
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2.การจัดทำแผน
  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • ระยะยาว
  • ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
  • กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
          - น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
          - น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
          - น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น
  • ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
  • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
  • จะสอนใคร
  • พฤติกรรมอะไร
  • เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
  • พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

3.การใช้แผน
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  • ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึง
          1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
          2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
          3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4.การประเมิน
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้งหรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมินและเกณฑ์วัดผล
       ** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน **



         เมื่อเรียนเนื้อหาเสร็จแล้ว อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เขียนแผน IEP กลุ่มละ 1 ทักษะ

          จากนั้น อาจารย์ให้นักศึกษาสอบร้องเพลง โดยให้จับฉลากคนละ 1 เพลง ให้ร้องเพลงพร้อมเคาะจังหวะประกอบเพลง

          ดิฉันได้ร้องเพลง ดอกไม้

เพลง ดอกไม้ 

ดอกไม้ต่างพันธ์ สวยงามสดสี

เหลือง แดง ม่วงมี แสด ขาว ชมพู


         สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

ความรู้สึกที่มีต่ออาจารย์และวิชานี้
       
        อาจารย์เบียร์เป็นคนที่น่ารัก เข้าใจนักศึกษา คอยแนะนำ ให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียนหรือปัญหาต่างๆที่นักศึกษาไม่สบายใจ อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สอนเนื้อหาในหัวข้อต่างๆได้เข้าใจง่าย มีกิจกรรมที่สนุกสนานทำให้บรรยากาศในห้องเรียนไม่ตึงเครียดและทำให้อยากเรียนวิชาที่อาจารย์สอนเพราะอาจารย์อธิบายเนื้อหาเข้าใจง่าย ทำให้รู้สึกว่าวิชานี้ไม่น่าเบื่อเลย กลับเป็นวิชาที่อยากเข้าเรียนทุกครั้ง

การนำไปประยุกต์ใช้

                                   สามารถนำความรู้เรื่องการเขียนแผนIEP ไปใช้ได้ถูกต้องเมื่อต้องพบเจอกันสถานการณ์จริง เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอนและการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา และกิจกรรมร้องเพลงสามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนกับเด็กได้ซึ่งจะช่วยบำบัดและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ครบทั้ง 4 ด้าน 
  • ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม และตั้งใจร้องเพลงที่ตนเองได้รับอย่างเต็มที่ 
  • เพื่อน   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  เพื่อนๆตั้งใจเรียนขณะอาจารย์สอน ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม ช่วยกันระดมความคิดในการทำงาน และเพื่อนๆทุกคนตั้งใจร้องเพลงที่ตนเองได้ ถึงแม้บางคนจะได้เพลงที่ร้องยาก มีร้องเสียงเพี้ยนบ้างในบางท่อนแต่ทุกคนก็ร้องเพลงอย่างเต็มที่ และส่วนใหญ่เพื่อนๆร้องเพลงได้ดี จนได้รับคำชมจากอาจารย์ว่ากลุ่มเรียนนี้เป็นกลุ่มเรียนที่ร้องเพลงเพราะ
  • อาจารย์  : เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์สอนเนื้อหาได้เข้าใจง่าย พูดเน้นในส่วนที่สำคัญ อาจารย์คอยให้คำแนะนำในการเขียนแผน IEPของนักศึกษาทุกกลุ่ม และมีเพลงที่ใช้ในการบำบัดเด็กพิเศษให้นักศึกษาได้ฝึกร้องเพลง ซึ่งเป็นประโยชน์สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนเด็กปกติหรือใช้บำบัดเด็กพิเศษได้


วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 15
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 20 เมษายน พ.ศ.2558
ครั้งที่ 15 กลุ่มเรียน 104 วันจันทร์  
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.50 น. ห้อง 435 อาคาร 4

             อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน ดิ่งพสุธา เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความพร้อมก่อนที่จะเริ่มเรียนและเกิดความสนุกสนาน



หัวข้อที่เรียนในวันนี้

            การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ
4.ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
  • การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
  • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
  • เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
  • พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
  • อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
  • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
  • จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
  • เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
  • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
  • คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้  การเคลื่อนไหว
  • ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น  ------>   ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
  • การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
  • ต่อบล็อก
  • ศิลปะ                                                             
  • มุมบ้าน
  • ช่วยเหลือตนเอง

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
  • ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
  • รูปต่อที่มีจำนวนขิ้นไม่มาก






  
          สมมุติให้รูปเรขาคณิตเป็นบล็อกไม้ เด็กจะเริ่มทำกิจกรรมต่อรูปเรขาคณิตได้เมื่อช่วงอายุ 4ขวบ หากเป็นเด็กพิเศษอาจจะยังไม่สามารถต่อได้ ฉะนั้น ครูควรเริ่มให้เด็กหัดวางทีละตัวก่อนหากเด็กหยิบผิดกำลังจะวาง ครูต้องพูดชี้นำเด็กว่า ใช่หรือเปล่าน๊า ครูว่าอันนี้ใช่ไหมคะ เป็นต้น

ความจำ
  • จากการสนทนา
  • เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
  • จำตัวละครในนิทาน
  • จำชื่อครู เพื่อน
  • เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะ ได้แก่
               1. ทักษะการสังเกต(Observation)  คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุประสงค์ เช่น การจะหาข้อมูลที่เป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของตนเองลงไป
               2. ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying) คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ โดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น  ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้(ดังนั้นครุควรถามเมื่อจัดกิจกรรมทั้งนี้เพื่อให้ประเมินเด็กได้อย่างถูกต้อง) ซึ่งเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่จะเลือกใช้เกณฑ์ 2 อย่าง คือ ความเหมือน และความต่าง เมื่อเด็กสามารถสร้างความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับความสัมพันธ์แล้วเด็กจึงจะจำแนกโดยใช้ความสัมพันธ์ร่วมได้
               3. ทักษะการเปรียบเทียบ(Comparing)  คือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป บนพื้นฐานของคุณสมบัติที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง เช่น เด็กสามารถบอกได้ว่าลูกบอลลูกหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าลูกอีกลูกหนึ่ง นั่นแสดงให้เห็นว่า เด็กเห็นความสัมพันธ์ของลูกบอล คือ เล็ก - ใหญ่ ความสำคัญในการเปรียบเทียบ คือ เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์  การเปรียบเทียบนับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเรียนในเรื่องการวัดและการจัดลำดับ
               4. ทักษะการจัดลำดับ(Ordering)  คือ การส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ซึ่งเป็นทักษะการเปรียบขั้นสูง เพราะจะต้องอาศัยการเปรียบเทียบสิ่งของมากกว่าสองสิ่งหรือสองกลุ่ม การจัดลำดับในครั้งแรก ๆ ของเด็กปฐมวัยจะเป็นไปในลักษณะการจัดกระทำกับสิ่งของสองสิ่ง เมื่อเกิดการพัฒนาจนเกิความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วเด็กจึงจะสามารถจัดลำดับที่ยากยิ่งขึ้นได้
               5. ทักษะการวัด(Measurement)   เมื่อเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาแล้ว เด็กจะพัฒนาความสามารถเข้าสู่เรื่องการวัดได้ ความสามารถในการวัดของเด็ก จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถใสนการอนุรักษ์(ความคงที่) เช่น เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับความยาวของเชือกได้ว่า เชือกจะมีความยาวเท่าเดิมถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งก็ตาม
               6. ทักษะการนับ(Counting)   แนวคิดเกี่ยวกับการนับจำนวน ได้แก่ การนับปากเปล่า บอกขนาดของกลุ่มที่มีขนาดเท่ากันโดยไม่ต้องนับ  นับโดยใช้ลำดับที่นับจำนวนเพิ่มขึ้น  นับเพื่อรู้จำนวนที่มีอยู่ การจดตัวเลข  การนับและเข้าใจความหมายของจำนวน  การใช้สัญลักษณ์แทนจำนวน ในเด็กปฐมวัยชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง เช่น การนับจำนวนเพื่อนในห้องเรียน นับขนมที่อยู่ในมือ แต่การนับของเด็กอาจสับสนได้หากมีการจัดเรียงสิ่งของเสียใหม่ เมื่อเด็กเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์(จำนวน)แล้วเด็กปฐมวัยจึงจะสามารถเข้าใจเรื่องการนับจำนวนอย่างมีความหมาย
               7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด(Sharp and Size)   เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กโดยง่าย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กคุ้นเคยจากการเล่น การจับต้องสิ่งของ ของเล่น หรือวัตถุรูปทรงต่าง ๆ อยู่เสมอในแต่ละวัน  เราจึงมักจะได้ยินเด็กพูดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรูปทรงหรือขนาดอยู่เสมอ  ครูสามารถทดสอบว่าเด็กรู้จักรูปทรงหรือไม่ได้โดยการให้เด็กหยิบ/เลือก สิ่งของตามคำบอก เมื่อเด็กรูปจักรูปทรงพื้นฐานแล้วครูสามารถสอนให้เด็กรู้จักรูปทรงที่ยากขึ้นได้
                ทักษะพื้นฐานในการคิดคำนวณ สำหรับเด็กปฐมวัยอาจแบ่งได้ 3 ทักษะ 
                1. ทักษะในการจัดหมู่
                2. ทักษะในการรวมหมู่(การเพิ่ม)
                3. ทักษะในการแยกหมู่(การลด)

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
  • รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  • พูดในทางที่ดี
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
  • มำบทเรียนให้สนุก
    การนำไปประยุกต์ใช้

                                       สามารถนำเรื่องการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางการเรียนไปใช้ในการพัฒนาเด็ก เมื่อต้องพบเจอกับสถานการณ์จริงได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเรียนรู้ของเด็กให้ดียิ่งขึ้นและเต็มศักยภาพ
    • ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังอาจารย์เฉลยข้อสอบกลางภาคที่ได้สอบไปแล้ว จดบันทึกเพิ่มเติมในส่วนที่ตอบผิดและจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมจากในชีทการเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน 
    • เพื่อน   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  เพื่อนๆตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์เฉลยข้อสอบกลางภาคที่ได้สอบไปแล้วแต่ละข้อและตั้งใจฟังขณะอาจารย์สอน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
    • อาจารย์  : เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์เฉลยข้อสอบกลางภาคที่ให้นักศึกษาสอบไปแล้วอย่างละเอียดเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในเรื่องนั้นๆมากยิ่งขึ้น อาจารย์สอนเนื้อหาในแต่ละส่วนได้เข้าใจง่าย พูดเน้นในส่วนที่สำคัญ และมีกิจกรรมการสอนที่สนุกสนาน

    วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2558

    สัปดาห์ที่ 14
    บันทึกอนุทิน
    วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
    วัน/เดือน/ปี 13 เมษายน พ.ศ.2558
    ครั้งที่ 14 กลุ่มเรียน 104 วันจันทร์  
    เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.50 น. ห้อง 435 อาคาร 4

                        สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากตรงกับวันสงกรานต์


    วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

    สัปดาห์ที่ 13
    บันทึกอนุทิน
    วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
    วัน/เดือน/ปี 6 เมษายน พ.ศ.2558
    ครั้งที่ 13 กลุ่มเรียน 104 วันจันทร์  
    เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.50 น. ห้อง 435 อาคาร 4

                                 สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากตรงกับวันจักรี