วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 3
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 26 มกราคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 3 กลุ่มเรียน 104 วันจันทร์  
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.50 น. ห้อง 435 อาคาร 4

              กิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน : อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมวาดภาพระบายสีดอกบัวที่กำหนดให้ให้เหมือนที่สุด


อุปกรณ์ที่ใช้ทำกิจกรรม


ดอกบัว (ภาพที่กำหนด)



ดอกบัวของฉัน




บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย
  • การวินิจฉัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
  • จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  • เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
  • ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
  • เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  • พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
  • พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
  • ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
  • ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
  • ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
ครูทำอะไรบ้าง
  • ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
  • ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
  • สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
  • จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
สังเกตอย่างมีระบบ
  • ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
  • ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
  • ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา 




การตรวจสอบ
  • จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
  • เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
  • บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฎิบัติ
  • ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
  • ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
  • พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
  • การนับอย่างง่ายๆ
  • การบันทึกต่อเนื่อง
  • การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การนับอย่างง่ายๆ
  • นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
  • กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
  • ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
  • ให้รายละเอียดได้มาก
  • เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
  • โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
  • บันทึกลงบัตรเล็กๆ
  • เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
  • ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดองความบกพร่อง
  • พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
  • ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
  • พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่



กิจกรรม :  อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันร้องเพลง  ดังนี้

เพลง  ฝึกกายบริหาร
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว


เพลง ผลไม้
ส้มโอ  แตงโม  แตงไทย
ลิ้นจี่  ลำไย  องุ่น  พุทรา
เงาะ  ฝรั่ง  มังคุด
กล้วย  ละมุด  น้อยหน่า
ขนุน  มะม่วง  นานาพันธุ์


เพลง กินผักกัน
กินผักกันเถอะเรา
บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกวา
คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง โหระพา
มะเขือเทศสีดา ฟักทอง กะหล่ำปลี


เพลง ดอกไม้ 
ดอกไม้ต่างพันธ์ สวยงามสดสี
เหลือง แดง ม่วงมี แสด ขาว ชมพู


เพลง จ้ำจี้ดอกไม้
จ้ำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่
จำปี จำปา มะลิ พิกุล
กุหลาบ ชบา บานชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา เฟื่องฟ้า ราตรี





การนำไปประยุกต์ใช้

       สามารถนำความรู้เรื่องบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวมไปปรับใช้ในการเรียนการสอนได้ นำเรื่องที่ครูควรปฎิบัติไปใช้กับเด็กและไม่ควรนำเรื่องที่ไม่ควรปฏิบัติไปใช้กับเด็ก เช่น ไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทของเด็ก  และสามารถนำเพลงที่ร้องในวันนี้ไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม
การประเมินผล
  • ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในการร้องเพลง จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม และตั้งใจวาดรูประบายสีดอกบัวแต่วาดได้ยังไม่เหมือนเท่าที่ควร 
  • เพื่อน   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในการร้องเพลงเป็นอย่างดีแต่อาจจะมีบางจังหวะที่ไม่พร้อมกันบ้าง และเพื่อนๆ ทุกคนทำกิจกรรมวาดรูประบายสีดอกบัวกันด้วยความตั้งใจ
  • อาจารย์  : เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนเข้าใจง่าย อาจารย์จะเน้นย้ำในส่วนที่สำคัญทำให้เข้าใจและมีเพลงที่นำไปใช้กับเด็กพิเศษได้จริงช่วยส่งเสริมพัฒนาการหรือบำบัดเด็กผ่านเพลงได้มาให้นักศึกษาฝึกร้องซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก 




วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 2
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 19 มกราคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 2 กลุ่มเรียน 104 วันจันทร์  
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.50 น. ห้อง 435 อาคาร 4


        กิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน : ให้นักศึกษาร่วมกันร้องเพลง เพลงนม อาบน้ำ แปรงฟัน พี่น้องกัน มาโรงเรียน

รูปแบบการจัดการศึกษา
  • การศึกษาปกติทั่วไป ( Regular Education )
  • การศึกษาพิเศษ ( Special Education )
  • การศึกษาแบบเรียนร่วม ( Integrated Education หรือ Mainstreaming )
  • การศึกษาแบบเรียนรวม ( Inclusive Education ) 
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม
( Integrated Education หรือ Mainstreaming )
  • การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
  • มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
  • ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
  • ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา ( Integration )
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
  • เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
  • เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
การเรียนร่วมเต็มเวลา ( Mainstreaming )
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
  • เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
  • มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
  • เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
( Inclusive Education )
  • การศึกษาสำหรับทุกคน
  • รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
  • จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
           การวิจัย : การศึกษาพิเศษและการศึกษาแบบเรียนรวม
           ผลการวิจัย : เด็กมีพัฒนาการที่ใกล้เคียงกันมาก สิ่งที่แตกต่างกันคือ การศึกษาแบบเรียนรวมเด็กจะมีทักษาทางสังคม ภาษามากกว่า เมื่อเทียบกับเด็กที่เรียนการศึกษาพิเศษ
           ฉะนั้น การศึกษาแบบเรียนรวมดีกว่าการศึกษาพิเศษ

Wilson , 2007
  • การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่ร่วมกัน ( Inclusion ) เป็นหลัก
  • การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
  • กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี ( Good Teaching ) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
  • เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง

" Inclusive Education is Education for all,
It involves receiving people
at the beginning of their education,
with provision of additional services
needed by each individual "


สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
  • เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้เด็กมีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
  • เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
  • เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน ( Education for All )
  • การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
  • เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสมและดำเนินการเรียนในลักษณะ "รวมกัน" ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
  • ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
  • ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
  • " สอนได้ "
  • เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด



การนำไปประยุกต์ใช้

       สามารถนำความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมและการศึกษาแบบเรียนร่วมไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมหรือการจัดการเรียนการสอนให้ตรงตามจุดประสงค์ ความสามารถของเด็ก พัฒนาเด็กในเรื่องของภาษาและสังคมเพื่อให้เด็กได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพและใช้ชีวิตร่วมกันเด็กปกติได้อย่างมีความสุข
การประเมินผล
  • ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการร้องเพลงและจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม
  • เพื่อน   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการร้องเพลง ปรบมือได้ตรงจังหวะเเละร้องเพลงได้ถูกคีย์ ไพเราะ และทุกคนสนุกสนานกับการเรียน
  • อาจารย์  : เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนเข้าใจ อาจารย์จะเน้นย้ำในส่วนที่สำคัญทำให้เข้าใจและสามารถแยกแยะออกว่าการศึกษาแบบเรียนรวมและการศึกษาแบบเรียนร่วมมีความหมายว่าอย่างไรและแตกต่างกันอย่างไรบ้าง




วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 1
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 12 มกราคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 1 กลุ่มเรียน 104 วันจันทร์  
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.50 น. ห้อง 435 อาคาร 4

        สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกของการเรียนการสอน  อาจารย์ได้ชี้แจงเกี่ยวกับแนวการสอน เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงการเรียนการสอนในแต่ละสัปดาห์และเกณฑ์การให้คะแนน ซึ่งจะทำให้นักศึกษามีการเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนจากการศึกษาค้นคว้ามาล่วงหน้า รวมถึงเรื่องกฏกติกา ข้อตกลงต่างๆ ภายในห้องเรียน


          อาจารย์เล่าถึงเรื่องบรรยากาศการไปจัดค่ายอาสากับรุ่นพี่ที่โรงเรียน จ.บุรีรัมย์ให้นักศึกษาฟัง จากนั้น อาจารย์ได้เฉลยข้อสอบวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ และให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดเพื่อวัดความรู้เดิมจากวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษว่าจำได้มากน้อยเพียงใด


กิจกรรม : อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันร้องเพลง ดังนี้

เพลง นม
นมเป็นอาหารดี      มีคุณค่าต่อร่างกาย
ดื่มแล้วชื่นใจ          ร่างกายแข็งแรง
ยังมีนมถั่วเหลือง    ดื่มได้ดีและไม่แพง  
ดื่มแล้วชื่นใจ          ร่างกายแข็งแรง

เพลง อาบน้ำ
อาบน้ำซู่ซ่า   ล้างหน้าล้างตา
ฟอกสบู่ถูตัว   ชำระเหงื่อไคล
ราดน้ำให้ทั่ว   เสร็จแล้วเช็ดตัว
อย่าให้ขุ่นมัว   สุขกายสบายใจ

เพลง แปรงฟัน
ตื่นเช้าเราแปรงฟัน
กินอาหารแล้วเราแปรงฟัน
ก่อนนอนเราแปรงฟัน
ฟันสะอาดขาวเป็นเงางาม
แปรงฟันที่ถูกวิธี  ดูซิต้องแปรงขึ้นลง
แปรงฟันที่ถูกวิธี  ดูซิต้องแปรงขึ้นลง

เพลง พี่น้องกัน
บ้านของฉันอยู่ด้วยกันมากหลาย
พ่อ แม่ ปู่ ย่า ลุง ป้า ตา ยาย
มีทั้งน้า อา พี่และน้องมากมาย
ทุกคนสุขสบาย  เราเป็นพี่น้องกัน

เพลง มาโรงเรียน
เรามาโรงเรียน  เราเขียนเราอ่าน
ครูเล่านิทานสนุกถูกใจ
เราเรียนเราเล่น  เราเป็นสุขใจ
ร่าเริงแจ่มใสเมื่อมาโรงเรียน



การนำไปประยุกต์ใช้

       สามารถนำความรู้เรื่องเพลงที่ได้ร้องในวันนี้ ไปใช้ในสถานการณ์จริงในการสอนในวันข้างหน้าเพื่อใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการบำบัดเด็กผ่านเพลง เพราะเพลงเป็นสิ่งที่เข้าถึงเด็กได้ง่าย ทำให้เด็กสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับสิ่งที่ทำและได้เรียนรู้ไปในตัว
การประเมินผล
  • ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือในการร้องเพลง
  • เพื่อน   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือในการร้องเพลง
  • อาจารย์  : เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ชี้แจงกฎกติกาข้อตกลงต่างๆ ชัดเจนและมีเพลงที่นำมาใช้ในการสอนซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาเป็นอย่างมาก