วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 12
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 30 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 12 กลุ่มเรียน 104 วันจันทร์  
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.50 น. ห้อง 435 อาคาร 4

             สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนรายวิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย  เนื่องจากเรียนชดเชยรายวิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย


วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 11
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 23 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 11 กลุ่มเรียน 104 วันจันทร์  
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.50 น. ห้อง 435 อาคาร 4


             สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์สอบเก็บคะแนนย่อย
              ในการสอบเก็บคะแนนครั้งนี้ รู้สึกทำข้อสอบได้ไม่ค่อยดีเท่าที่ควรเนื่องจากเตรียมตัวมาไม่ค่อยดีทำให้เขียนข้อสอบบางข้อไม่ค่อยได้ทำให้พลาดคะแนนไปหลายข้อ แต่ครั้งหน้าจะทำให้ดีกว่านี้ค่ะ



วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 10
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 16 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 10 กลุ่มเรียน 104 วันจันทร์  
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.50 น. ห้อง 435 อาคาร 4

                อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน ไร่สตอว์เบอรี่  เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความพร้อมก่อนที่จะเริ่มเรียนและเกิดความสนุกสนาน



หัวข้อที่เรียนในวันนี้

            การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
               การกินอยู่
               การเข้าห้ิงน้ำ
               การแต่งตัว
               กิจวัตรต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำงานตามความสามารถ
  • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่   

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  • การได้ทำด้วยตนเอง
  • เชื่อมั่นในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
  • ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆ ให้เด็กมากเกินไป
  • ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
  • " หนูทำได้ "  " หนูยังทำไม่ได้ "
จะช่วยเมื่อไหร่
  • เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
  • หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ( อายุ 2-3 ปี )

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ( อายุ 3-4 ปี )

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ( อายุ 4-5 ปี )

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ( อายุ 5-6 ปี )

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน
การเข้าส้วม
  • เข้าไปในห้องส้วม
  • ดึงกางเกงลงมา
  • ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  • ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
  • กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น
  • แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆ ให้มากที่สุด

สรุป
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นชั้นๆ
  • ความสำเร็จขั้นเล็กๆ นำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ



กิจกรรม :  อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันร้องเพลง ดังนี้

เพลง  นกกระจิบ
นั่นนก  บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ  1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว


เพลง  เที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ยวไป
ผ่านตามท้องไร่ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5 ตัว
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว  6 7 8 9 10 ตัว


เพลง  แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันออกไข่ทุกวัน
1 วันได้ไข่ 1 ฟอง


เพลง  ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมว 10 ตัวที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป 1 ตัว
ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตัว


เพลง  ลุงมาชาวนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว  เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาขาวนาเลี้ยงหมา  เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
* หมาก็เห่า บ๊อก บ๊อก
แมวก็ร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว
ลุงมาไถนา วัวร้อง มอ มอ




กิจกรรมที่ใช้บำบัดเด็กพิเศษ

อุปกรณ์
  • กระดาษ
  • สีเทียน
วิธีทำ

1.ใช้สีเทียนวาดวงกลมจากวงกลมเล็กไปจนถึงวงกลมใหญ่ โดยให้เลือกสีที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละวง  ดังรูป




2. ตัดกระดาษเป็นวงกลม ดังรูป



จากนั้น  ให้นำวงกลมของตนเองและของเพื่อนๆ มาติดบนลำต้น



ผลงานของเพื่อน ๆ


สิ่งที่เด็กได้รับจากการทำกิจกรรม
  • กล้ามเนื้อมัดเล็ก
  • ความคิดสร้างสรรค์
  • คณิตศาสตร์ (วงกลม)
  • มิติสัมพันธ์
  • สมาธิ
  • แสดงออกทางจินตนาการ
การนำไปประยุกต์ใช้

                                   สามารถนำเรื่องการย่อยงาน เช่น การเข้าห้องน้ำ ไปใช้ในการสอนเด็กได้ถูกต้องและปฎิบัติได้เหมาะสมเมื่อต้องเจอสถานการณ์จริงในอนาคต และกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนกับเด็กได้ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ครบทั้ง 4 ด้าน นอกจากนี้ สีที่เด็กเลือกใช้ในการทำกิจกรรมเป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของเด็กได้ 
  • ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม ให้ความร่วมมือในการร้องเพลง และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน 
  • เพื่อน   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  เพื่อนๆตั้งใจเรียนและร้องเพลงและช่วยกันทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน ผลงานของเพื่อนมีความหลากหลายในการใช้สี
  • อาจารย์  : เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์สอนเนื้อหาได้เข้าใจง่าย พูดเน้นในส่วนที่สำคัญ มีเพลงและกิจกรรมที่สนุกสนานและเป็นประโยชน์สามารถนำไปปรับใช้ในการสอนเด็กปกติหรือใช้บำบัดเด็กพิเศษได้



วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 9
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 9 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 9 กลุ่มเรียน 104 วันจันทร์  
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.50 น. ห้อง 435 อาคาร 4

                อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน เที่ยวทุ่งหญ้าซาวันน่า  เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความพร้อมก่อนที่จะเริ่มเรียนและเกิดความสนุกสนาน



หัวข้อที่เรียนในวันนี้

            การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ
2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆ ไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
  • ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่า  "พูดช้าๆ"  "ตามสบาย"  "คิดก่อนพูด"
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา


พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก


ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

การสอนตามเหตุการณ์  (Incidentel  Teaching)


ตัวอย่าง
         เด็กทำท่าทางเหมือนกำลังจะมัดเอว ถ้าครูเข้าไปควรเดินเข้าไปหาเด็กอย่าคาดเดาว่าเด็กต้องการผูกเชือก ควรอยู่ใกล้ๆ เด็กก็พอ ให้เด็กขอความช่วยเหลือก่อน  ครูควรใช้วิธีบอกบทกับเด็ก เข้าไปหาเด็กถามเด็กว่า หนูจะผูกผ้ากันเปื้อนใช่ไหม ให้เด็กพูดตามครูว่าผูกผ้ากันเปื้อน พยายามชี้แนะเด็กไว้เสมอ ครูจะผูกให้เด็กก็ต่อเมื่อเด็กพูดตามว่าผ้ากันเปื้อนก่อน ถ้าเด็กพูดไม่ได้จริงๆ ก็ผูกให้ไปเลย

Post  Test
  • ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางภาษในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง





          จากนั้น  อาจารย์ใหนักศึกษาดู VDO โทรทัศน์ 
: ผลิบานผ่านมือครู  " จังหวะกาย  จังหวะชีวิต " 

 

             การใช้ดนตรีเพื่อการพัฒนาผู้เรียนระดับปฐม­วัย และเด็กพิเศษ การนำดนตรีและการเคลื่อนไหวมาใช้อย่างมีเป้าหมาย เพื่อกระตุ้นพัฒนาการ และเรียนรู้ อาทิ การฟัง สมาธิการจดจ่อ ความคล่องตัว ยืดหยุ่น แข็งแรงของการใช้ร่างกายส่วนต่างๆ สหสัมพันธ์ซ้ายขวา การทรงตัว ภาษา การเปล่งเสียง ความเข้าใจเรื่องจังหวะ ของตนเองและผู้อื่น จินตนาการ และการเล่นเป็นกลุ่ม เลือกกิจกรรมที่ผู้เรียนสนใจ ยืดหยุ่นตามสถานการณ์จริง และเชื่อมั่นว่าทุกคนมีศักยภาพที่จะฟื้นฟู­พัฒนาได้ตลอดชีวิต



กิจกรรมที่ใช้บำบัดเด็กพิเศษ

อุปกรณ์
  • กระดาษ
  • สีเทียน



ตัวอย่าง



วิธีทำ
1. จับคู่กับเพื่อน 1 คน
2. เมื่อได้ยินเสียงเพลงให้เริ่มวาดเส้น โดยให้วาดเป็นเส้นตรงพร้อมกัน  ดังรูป



3. ให้ระบายสีลงไปในช่องว่างที่มีเส้นกั้นโดยใช้สีที่แตกต่างกันจนครบทุกช่อง



ผลงานของเพื่อน ๆ



สิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
  • ฝึกสมาธิ
  • มีมิติสัมพันธ์
  • การแสดงออก
  • ด้านสังคม
  • ด้านอารมณ์ จิตใจ
  • ด้านภาษา
  • ความคิดสร้างสรรค์

การนำไปประยุกต์ใช้

                                   สามารถนำการส่งเสริมทักษะทางภาษาไปส่งเสริมได้ตรงตามพัฒนาการของเด็กและนำการสอนตามเหตุการณ์ไปปรับใช้ในอนาคตเมื่อต้องพบสถานการณ์จริง  และกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนกับเด็กได้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ครบทั้ง 4 ด้าน 
  • ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม ให้ความร่วมมือในการร้องเพลงแต่อาจจะมีเพี้ยนๆบางท่อนเพราะทำนองร้องยากนิดนึง และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ระบายสีช้ากว่าเพื่อนกลุ่มอื่นบ้างแต่กิจกรรมสนุกค่ะ 
  • เพื่อน   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน ตั้งใจร้องเพลงและช่วยกันทำกิจกรรมซึ่งผลงานแต่ละกลุ่มออกมาได้สวยงาม มีความหลากหลายของเส้นและการใช้สี
  • อาจารย์  : เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์สอนเนื้อหาได้เข้าใจง่าย ชัดเจน มีเพลงและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาสามารถนำไปปรับใช้ในหารบำบัดเด็กพิเศษในอนาคตได้ และเกิดความสนุกสนาน 



วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 8
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 2 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 8 กลุ่มเรียน 104 วันจันทร์  
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.50 น. ห้อง 435 อาคาร 4

         อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน รถไฟเหาะแห่งชีวิต ซึ่งเป็นแบบทดสอบทางจิตวิทยาของประเทศญี่ปุ่น เพื่อกระตุ้นให้เกิดความพร้อมก่อนจะเริ่มเรียนและเกิดสนุกสนาน



หัวข้อที่เรียนในวันนี้ คือ
          การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ
1.ทักษะทางสังคม
  • เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆ อย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  • เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  • ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อนแต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
  • เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
  • ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  • จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใด
  • ครูจดบันทึก
  • ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆ อย่าง
  • คำนึงถึงเด็กทุกๆ คน
  • ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
  • เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน "ครู" ให้เด็กพิเศษ
ครูปฎิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
  • ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
  • ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  • เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
  • ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
  • ทำโดย "การพูดนำของครู" 
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
  • ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
  • การให้โอกาสเด็ก
  • เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆ เหมือนเพื่อนในห้อง
  • ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง

Post Test
  • ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางสังคมในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง





กิจกรรม :  อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันร้องเพลง ดังนี้


เพลง  ดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า บ่งเวลาว่า กลางวัน


เพลง  ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน


เพลง  ดอกมะลิ
ดอกมะลิ  กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ  อบขนมหอมชื่นใจ


เพลง  กุหลาบ
กุหลาบงาม  ก้านหนามแหลมคม                
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน


เพลง  นกเขาขัน
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู  จุ๊กกรู  จุ๊กกรู  จุ๊กกรู  จุ๊กกรู


เพลง  รำวงดอกมะลิ
รำวง  รำวง  ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจ  จริงเอย




กิจกรรมที่ใช้บำบัดเด็กพิเศษ  

อุปกรณ์
  • กระดาษ
  • สีเทียน


ตัวอย่าง



วิธีทำ

1. จับคู่กับเพื่อน 1 คน
2. ให้คนนึงสมมุติว่าตนเองเป็นเด็กพิเศษให้วาดลายเส้น และอีกคนเป็นเด็กปกติวาดจุด เมื่อได้ยินเสียงเพลงให้เริ่มวาดและจุดตามเสียงเพลงจังหวะหนักเบา เช่น ช่วงที่เพลงเบาๆ อาจจะวาดจุดเป้นจุดเล็กๆ หรือจุดใหญ่ ตามความรู้สึกของตนเอง และให้หยุดวาดเมื่อเพลงจบ





3. ให้วาดภาพต่อเติมตามเส้นที่วาดข้างต้น ให้เป็นรูปภาพตามจินตนาการ
ตัวอย่างภาพ





ชื่อผลงาน  :  shelldon



ผลงานของเพื่อน ๆ


การนำไปประยุกต์ใช้

                                   สามารถนำการส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ  ในเรื่องของทักษะทางสังคม กิจกรรมการเล่น ยุทธศาสตร์การสอนไปใช่กับเด็กได้ และกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้ สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนกับเด็กได้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้อย่างเหมาะสม 
  • ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและร้องเพลง เวลาเรียนอาจจะดูง่วงๆเหนื่อยๆบ้าง เนื่องจากเรียนวิชาในช่วงเช้าที่มีการปฎิบัติกิจกรรม 
  • เพื่อน   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  เพื่อนบางคนอาจจะดูเหนื่อยๆ แต่ก็ตั้งใจทำกิจกรรมและให้ความร่วมมือในการร้องเพลงเป็นอย่างดี และสนุกสนานกับการทำกิจกรรม
  • อาจารย์  : เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์สอนเนื้อหาได้เข้าใจ ชัดเจน มี กิจกรรมก่อนเรียนให้นักศึกษาทำเพื่อกระตุ้นให้พร้อมที่จะเรียนรู้  มีเพลงและกิจกรรมที่สามารถนำไปปรับใช้ในหารบำบัดเด็กพิเศษได้