วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 10
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 16 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 10 กลุ่มเรียน 104 วันจันทร์  
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.50 น. ห้อง 435 อาคาร 4

                อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน ไร่สตอว์เบอรี่  เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความพร้อมก่อนที่จะเริ่มเรียนและเกิดความสนุกสนาน



หัวข้อที่เรียนในวันนี้

            การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
               การกินอยู่
               การเข้าห้ิงน้ำ
               การแต่งตัว
               กิจวัตรต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำงานตามความสามารถ
  • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่   

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  • การได้ทำด้วยตนเอง
  • เชื่อมั่นในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
  • ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆ ให้เด็กมากเกินไป
  • ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
  • " หนูทำได้ "  " หนูยังทำไม่ได้ "
จะช่วยเมื่อไหร่
  • เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
  • หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ( อายุ 2-3 ปี )

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ( อายุ 3-4 ปี )

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ( อายุ 4-5 ปี )

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ( อายุ 5-6 ปี )

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน
การเข้าส้วม
  • เข้าไปในห้องส้วม
  • ดึงกางเกงลงมา
  • ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  • ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
  • กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น
  • แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆ ให้มากที่สุด

สรุป
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นชั้นๆ
  • ความสำเร็จขั้นเล็กๆ นำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ



กิจกรรม :  อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันร้องเพลง ดังนี้

เพลง  นกกระจิบ
นั่นนก  บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ  1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว


เพลง  เที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ยวไป
ผ่านตามท้องไร่ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5 ตัว
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว  6 7 8 9 10 ตัว


เพลง  แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันออกไข่ทุกวัน
1 วันได้ไข่ 1 ฟอง


เพลง  ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมว 10 ตัวที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป 1 ตัว
ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตัว


เพลง  ลุงมาชาวนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว  เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาขาวนาเลี้ยงหมา  เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
* หมาก็เห่า บ๊อก บ๊อก
แมวก็ร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว
ลุงมาไถนา วัวร้อง มอ มอ




กิจกรรมที่ใช้บำบัดเด็กพิเศษ

อุปกรณ์
  • กระดาษ
  • สีเทียน
วิธีทำ

1.ใช้สีเทียนวาดวงกลมจากวงกลมเล็กไปจนถึงวงกลมใหญ่ โดยให้เลือกสีที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละวง  ดังรูป




2. ตัดกระดาษเป็นวงกลม ดังรูป



จากนั้น  ให้นำวงกลมของตนเองและของเพื่อนๆ มาติดบนลำต้น



ผลงานของเพื่อน ๆ


สิ่งที่เด็กได้รับจากการทำกิจกรรม
  • กล้ามเนื้อมัดเล็ก
  • ความคิดสร้างสรรค์
  • คณิตศาสตร์ (วงกลม)
  • มิติสัมพันธ์
  • สมาธิ
  • แสดงออกทางจินตนาการ
การนำไปประยุกต์ใช้

                                   สามารถนำเรื่องการย่อยงาน เช่น การเข้าห้องน้ำ ไปใช้ในการสอนเด็กได้ถูกต้องและปฎิบัติได้เหมาะสมเมื่อต้องเจอสถานการณ์จริงในอนาคต และกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนกับเด็กได้ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ครบทั้ง 4 ด้าน นอกจากนี้ สีที่เด็กเลือกใช้ในการทำกิจกรรมเป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของเด็กได้ 
  • ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม ให้ความร่วมมือในการร้องเพลง และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน 
  • เพื่อน   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  เพื่อนๆตั้งใจเรียนและร้องเพลงและช่วยกันทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน ผลงานของเพื่อนมีความหลากหลายในการใช้สี
  • อาจารย์  : เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์สอนเนื้อหาได้เข้าใจง่าย พูดเน้นในส่วนที่สำคัญ มีเพลงและกิจกรรมที่สนุกสนานและเป็นประโยชน์สามารถนำไปปรับใช้ในการสอนเด็กปกติหรือใช้บำบัดเด็กพิเศษได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น