วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 9
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 9 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 9 กลุ่มเรียน 104 วันจันทร์  
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.50 น. ห้อง 435 อาคาร 4

                อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน เที่ยวทุ่งหญ้าซาวันน่า  เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความพร้อมก่อนที่จะเริ่มเรียนและเกิดความสนุกสนาน



หัวข้อที่เรียนในวันนี้

            การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ
2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆ ไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
  • ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่า  "พูดช้าๆ"  "ตามสบาย"  "คิดก่อนพูด"
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา


พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก


ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

การสอนตามเหตุการณ์  (Incidentel  Teaching)


ตัวอย่าง
         เด็กทำท่าทางเหมือนกำลังจะมัดเอว ถ้าครูเข้าไปควรเดินเข้าไปหาเด็กอย่าคาดเดาว่าเด็กต้องการผูกเชือก ควรอยู่ใกล้ๆ เด็กก็พอ ให้เด็กขอความช่วยเหลือก่อน  ครูควรใช้วิธีบอกบทกับเด็ก เข้าไปหาเด็กถามเด็กว่า หนูจะผูกผ้ากันเปื้อนใช่ไหม ให้เด็กพูดตามครูว่าผูกผ้ากันเปื้อน พยายามชี้แนะเด็กไว้เสมอ ครูจะผูกให้เด็กก็ต่อเมื่อเด็กพูดตามว่าผ้ากันเปื้อนก่อน ถ้าเด็กพูดไม่ได้จริงๆ ก็ผูกให้ไปเลย

Post  Test
  • ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางภาษในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง





          จากนั้น  อาจารย์ใหนักศึกษาดู VDO โทรทัศน์ 
: ผลิบานผ่านมือครู  " จังหวะกาย  จังหวะชีวิต " 

 

             การใช้ดนตรีเพื่อการพัฒนาผู้เรียนระดับปฐม­วัย และเด็กพิเศษ การนำดนตรีและการเคลื่อนไหวมาใช้อย่างมีเป้าหมาย เพื่อกระตุ้นพัฒนาการ และเรียนรู้ อาทิ การฟัง สมาธิการจดจ่อ ความคล่องตัว ยืดหยุ่น แข็งแรงของการใช้ร่างกายส่วนต่างๆ สหสัมพันธ์ซ้ายขวา การทรงตัว ภาษา การเปล่งเสียง ความเข้าใจเรื่องจังหวะ ของตนเองและผู้อื่น จินตนาการ และการเล่นเป็นกลุ่ม เลือกกิจกรรมที่ผู้เรียนสนใจ ยืดหยุ่นตามสถานการณ์จริง และเชื่อมั่นว่าทุกคนมีศักยภาพที่จะฟื้นฟู­พัฒนาได้ตลอดชีวิต



กิจกรรมที่ใช้บำบัดเด็กพิเศษ

อุปกรณ์
  • กระดาษ
  • สีเทียน



ตัวอย่าง



วิธีทำ
1. จับคู่กับเพื่อน 1 คน
2. เมื่อได้ยินเสียงเพลงให้เริ่มวาดเส้น โดยให้วาดเป็นเส้นตรงพร้อมกัน  ดังรูป



3. ให้ระบายสีลงไปในช่องว่างที่มีเส้นกั้นโดยใช้สีที่แตกต่างกันจนครบทุกช่อง



ผลงานของเพื่อน ๆ



สิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
  • ฝึกสมาธิ
  • มีมิติสัมพันธ์
  • การแสดงออก
  • ด้านสังคม
  • ด้านอารมณ์ จิตใจ
  • ด้านภาษา
  • ความคิดสร้างสรรค์

การนำไปประยุกต์ใช้

                                   สามารถนำการส่งเสริมทักษะทางภาษาไปส่งเสริมได้ตรงตามพัฒนาการของเด็กและนำการสอนตามเหตุการณ์ไปปรับใช้ในอนาคตเมื่อต้องพบสถานการณ์จริง  และกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนกับเด็กได้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ครบทั้ง 4 ด้าน 
  • ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม ให้ความร่วมมือในการร้องเพลงแต่อาจจะมีเพี้ยนๆบางท่อนเพราะทำนองร้องยากนิดนึง และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ระบายสีช้ากว่าเพื่อนกลุ่มอื่นบ้างแต่กิจกรรมสนุกค่ะ 
  • เพื่อน   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน ตั้งใจร้องเพลงและช่วยกันทำกิจกรรมซึ่งผลงานแต่ละกลุ่มออกมาได้สวยงาม มีความหลากหลายของเส้นและการใช้สี
  • อาจารย์  : เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์สอนเนื้อหาได้เข้าใจง่าย ชัดเจน มีเพลงและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาสามารถนำไปปรับใช้ในหารบำบัดเด็กพิเศษในอนาคตได้ และเกิดความสนุกสนาน 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น